แหล่งรวบรวมขั้นตอนการเขียนโปรแกรม ตัวอย่างโค้ด แนวทางเขียนโปรแกรม เทคนิคต่างๆมากมาย

November 27, 2010

เจาะลึกตัวแปร (Variables) ใน PHP

    ตัวแปร (Variables) ใน PHP นั้นถือเป็นสิ่งพื้นฐานเลยที่ผู้เขียนโปรแกรมจำเป็นต้องรู้ถึงการใช้งานของมันและหาเข้าใจอย่างลึกซึ้งแล้วจะนำไปสู้การเขียนโปรแกรมอย่างมีคุณภาพได้เช่นกัน เรามาดูคุณสมบัติของตัวแปรบน PHP กัน
  • กฏการตั้งชื่อตัวแปร
    1. ต้องขึ้นต้นด้วย $ (dollar sign) เสมอ
      Example.
          $val 
    2. สามารถใช้ได้ทั้งตัวเลขและตัวอักษร และใช้ _(underscores) ได้
      Example.
          $_val
    3. ตัวอักษรแรกหลัง $ ห้ามขึ้นต้นด้วยตัวเลข
    4. การใช้ตัวพิมพ์เล็ก ตัวพิมพ์ใหญ่จะไม่เหมือนกัน
      Example.
          $Val จะถือว่าเป็นคนละตัวแปรกับ $val  เพราะฉะนั้นระวังให้ดีหากเอาตัวแปรชื่อเดียวกันแต่ตัวพิมพ์เล็ก ตัวพิมพ์ใหญ่ ต่างกันจะทำให้เกิดความผิดพลาดขึ้นได้
    5. ไม่ควรตั้งชื่อตัวแปรซ้ำกับฟังก์มาตรฐาน (build-in function) เพราะ PHP จะไม่สนใจชื่อที่ตั้งใหม่แต่จะทำงานตามฟังก์ชั้นมาตรฐาน
  • การกำหนดค่าให้ตัวแปร
    กำหนดค่าให้ตัวแปรได้โดยใช้ Assignment Operator คือเครื่องหมาย = (เท่ากับ) 
Example.
    $val = 0;
    $val1 = $val2;
    จากตัวอย่างตัวแปรสามารถรับค่าได้ทั้งที่เป็นตัวเลข ตัวอักษร และตัวแปร
  • การแสดงค่าตัวแปร
Code :
<?
    $val = 10
    echo 'ตัวแปรมีค่า ';
    echo $val;
?>
อธิบายจาก Code
- บรรทัดที่ 2 เป็นการกำหนดค่าให้ตัวแปร $val มีค่าเป็น 10
- บรรทัดที่ 3 เป็นการแสดงข้อความ "ตัวแปรมีค่า " ออกทางหน้า web
- บรรทัดที่ 4 แสดงค่าของตัวแปร $val ออกทางหน้า web แสดงผลดัง output ด้านล่าง
Output :
ตัวแปรมีค่า 10
  • ชนิดของตัวแปร (variable types)
    1. Integer คือตัวเลขจำนวนเต็ม
      Example 1, 2, 3, 777 
    2. Double คือตัวเลขจำนวนจริง
      Example 1.00, 1.25, 55.9843434
    3. String คือตัวอักษร แต่ต้องอยู่ระหว่างเครื่องหมาย double quotes ( " ) หรือ single quotes ( ' )
      Example "str" , 'abc def g'
    4. Array คือชุดของข้อมูลที่เป็นชนิดเดียวกัน (ตัวนี้ Advance นิดนึง จะมาอธิบายเพิ่มในภายหลังอย่างละเอียด)
    5. Object คือการกำหนดให้ตัวแปรนั้นเก็ฐคุณสมบัติของ object ไว้ โดยใช้ชื่อคลาสเป็นตัวกำหนด (ตัวนี้ก็ Advance หน่อยนะ จะมาอธิบายเพิ่มในภายหลังอย่างละเอียดเช่นกัน)
  • Type strength
    ชนิดของตัวแปรภาษา PHP สามารถกำหนดได้โดยไม่ต้องประกาศชนิดตัวแปร และเมื่อกำหนดค่าใหม่ที่มีค่าชนิดแตกต่างจากชนิดเดิม ชนิดตัวแปรนั้นจะถูกเปลี่ยนไปตามชนิดตัวแปรที่กำหนดใหม่ให้เอง

  • การกำหนดชนิดให้ตัวแปร
    กำหนดชนิดตัวแปรได้โดยใส่ชนิดตัวแปรไว้ใน วงเล็บ หน้าตัวแปร ขณะที่กำหนดค่าให้ตัวแปรนั้น
Code :
<?
    $a = 10.1;
    $b = 10.2;
    $sum = $a + $b;
    echo $sum.'<br>';
    $a = (integer)$a;
    $b = (integer)$b;
    $sum = $a + $b;
    echo $sum.'<br>';
?>
Output :
20.3
20
    จะเห็นว่าครั้งแรกเราใส่ค่าให้ $a และ $b เป็นค่าชนิดที่เป็น Double การรวมค่าออกมาจึงได้ค่าจำนวนจริง แต่หลังจากที่เรากำหนดชนิดให้ $a และ $b ใหม่เป็น Integer แล้วรวมค่า ผลที่ออกมาได้ค่ามาเป็นจำนวนเต็ม

No comments:

Post a Comment