แหล่งรวบรวมขั้นตอนการเขียนโปรแกรม ตัวอย่างโค้ด แนวทางเขียนโปรแกรม เทคนิคต่างๆมากมาย

November 27, 2010

เจาะลึกตัวแปร (Variables) ใน PHP

    ตัวแปร (Variables) ใน PHP นั้นถือเป็นสิ่งพื้นฐานเลยที่ผู้เขียนโปรแกรมจำเป็นต้องรู้ถึงการใช้งานของมันและหาเข้าใจอย่างลึกซึ้งแล้วจะนำไปสู้การเขียนโปรแกรมอย่างมีคุณภาพได้เช่นกัน เรามาดูคุณสมบัติของตัวแปรบน PHP กัน
  • กฏการตั้งชื่อตัวแปร
    1. ต้องขึ้นต้นด้วย $ (dollar sign) เสมอ
      Example.
          $val 
    2. สามารถใช้ได้ทั้งตัวเลขและตัวอักษร และใช้ _(underscores) ได้
      Example.
          $_val
    3. ตัวอักษรแรกหลัง $ ห้ามขึ้นต้นด้วยตัวเลข
    4. การใช้ตัวพิมพ์เล็ก ตัวพิมพ์ใหญ่จะไม่เหมือนกัน
      Example.
          $Val จะถือว่าเป็นคนละตัวแปรกับ $val  เพราะฉะนั้นระวังให้ดีหากเอาตัวแปรชื่อเดียวกันแต่ตัวพิมพ์เล็ก ตัวพิมพ์ใหญ่ ต่างกันจะทำให้เกิดความผิดพลาดขึ้นได้
    5. ไม่ควรตั้งชื่อตัวแปรซ้ำกับฟังก์มาตรฐาน (build-in function) เพราะ PHP จะไม่สนใจชื่อที่ตั้งใหม่แต่จะทำงานตามฟังก์ชั้นมาตรฐาน
  • การกำหนดค่าให้ตัวแปร
    กำหนดค่าให้ตัวแปรได้โดยใช้ Assignment Operator คือเครื่องหมาย = (เท่ากับ) 
Example.
    $val = 0;
    $val1 = $val2;
    จากตัวอย่างตัวแปรสามารถรับค่าได้ทั้งที่เป็นตัวเลข ตัวอักษร และตัวแปร
  • การแสดงค่าตัวแปร
Code :
<?
    $val = 10
    echo 'ตัวแปรมีค่า ';
    echo $val;
?>
อธิบายจาก Code
- บรรทัดที่ 2 เป็นการกำหนดค่าให้ตัวแปร $val มีค่าเป็น 10
- บรรทัดที่ 3 เป็นการแสดงข้อความ "ตัวแปรมีค่า " ออกทางหน้า web
- บรรทัดที่ 4 แสดงค่าของตัวแปร $val ออกทางหน้า web แสดงผลดัง output ด้านล่าง
Output :
ตัวแปรมีค่า 10
  • ชนิดของตัวแปร (variable types)
    1. Integer คือตัวเลขจำนวนเต็ม
      Example 1, 2, 3, 777 
    2. Double คือตัวเลขจำนวนจริง
      Example 1.00, 1.25, 55.9843434
    3. String คือตัวอักษร แต่ต้องอยู่ระหว่างเครื่องหมาย double quotes ( " ) หรือ single quotes ( ' )
      Example "str" , 'abc def g'
    4. Array คือชุดของข้อมูลที่เป็นชนิดเดียวกัน (ตัวนี้ Advance นิดนึง จะมาอธิบายเพิ่มในภายหลังอย่างละเอียด)
    5. Object คือการกำหนดให้ตัวแปรนั้นเก็ฐคุณสมบัติของ object ไว้ โดยใช้ชื่อคลาสเป็นตัวกำหนด (ตัวนี้ก็ Advance หน่อยนะ จะมาอธิบายเพิ่มในภายหลังอย่างละเอียดเช่นกัน)
  • Type strength
    ชนิดของตัวแปรภาษา PHP สามารถกำหนดได้โดยไม่ต้องประกาศชนิดตัวแปร และเมื่อกำหนดค่าใหม่ที่มีค่าชนิดแตกต่างจากชนิดเดิม ชนิดตัวแปรนั้นจะถูกเปลี่ยนไปตามชนิดตัวแปรที่กำหนดใหม่ให้เอง

  • การกำหนดชนิดให้ตัวแปร
    กำหนดชนิดตัวแปรได้โดยใส่ชนิดตัวแปรไว้ใน วงเล็บ หน้าตัวแปร ขณะที่กำหนดค่าให้ตัวแปรนั้น
Code :
<?
    $a = 10.1;
    $b = 10.2;
    $sum = $a + $b;
    echo $sum.'<br>';
    $a = (integer)$a;
    $b = (integer)$b;
    $sum = $a + $b;
    echo $sum.'<br>';
?>
Output :
20.3
20
    จะเห็นว่าครั้งแรกเราใส่ค่าให้ $a และ $b เป็นค่าชนิดที่เป็น Double การรวมค่าออกมาจึงได้ค่าจำนวนจริง แต่หลังจากที่เรากำหนดชนิดให้ $a และ $b ใหม่เป็น Integer แล้วรวมค่า ผลที่ออกมาได้ค่ามาเป็นจำนวนเต็ม

..อ่านต่อ..

November 25, 2010

การ Redirect / Refresh web page

    การ redirect สามารถทำได้ด้วยการใช้ meta tag ของ html code สามารถกำหนดช่วงเวลาและ URL ที่ต้องการ Redirect ไปได้ ใน attribute CONTENT มีรูปแบบดังนี้
     CONTENT="[ช่วงเวลาให้รอก่อนทำการ Redirect หน่วยเป็นวินาที];URL=[ใส่ URL ที่ต้องการ Link ไปหาที่นี่]"
    หากต้องการให้ web page ของเรา Refresh หน้าทุกๆ 1 นาทีก็สามารถเซตได้ตามตัวอย่าง code ข้างล่าง code ต้องวางอยู่ระหว่าง tag <head> กับ </head> นะครับ

Code :
<META HTTP-EQUIV="Refresh" CONTENT="60;URL=http://www.yourname.com">

    การ Redirect ด้วย Javascript เพียงแค่ใส่ URL ให้ถูกต้องหน้า web ของเราก็จะ Link ไปสู่ URL ที่เรากำหนดเอง

Code :
<html>
<head>
<script langquage='javascript'>
    window.location="http://www.yourdomain.com/";
</script>
</head>
</html>

     ยังมีรูปแบบ code javascript การ Redirect URL อื่นอีกซึ่งให้ผลการทำงานเหมือนกัน

Code :
<html>
<head>
<script langquage='javascript'>

    window.location.href = "http://www.yourdomain.com/";
</script></head></html> 

..อ่านต่อ..

November 23, 2010

มารู้จัก jQuery กัน



jQuery คือไลบรารีของโค้ดจาวาสคริปต์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างเว็บไซต์ jQuery ช่วยให้เราเรียกเขียนหรือ ใช้งานจาวาสคริปต์ และ Ajax ให้ง่ายขึ้น jQuery เปิดตัวครั้งแรกในงานบาร์แคมป์นิวยอร์ก โดย จอห์น เรซิก (John Resig) เมื่อ 14 มกราคม พ.ศ. 2549 ตัวโค้ดของ jQuery มีลิขสิทธิ์และสัญญาอนุญาตแบบ open source โดยใช้สัญญาอนุญาตของ GFDL และ MIT License





ความสามารถของ Jquery
* ใช้งาน DOM element โดยการเขียนไม่จำเป็นต้องยึดติดกับ browser
* จัดการกับ Event เพิ่ม Event ลงในหน้าเว็บตามแต่ใจต้องการ
* การจัดการ CSS สามารถเพิ่ม ลบ class ,id ของ CSS
* Effects and animations ลูกเล่นบนหน้าเว็บ
* Ajax ช่วยให้เขียน Ajax ได้ง่ายขึ้นประหยัดเว็บเวลาในการเขียน Ajax และทำให้โค้ดสั้นลง
* สามารถสืบทอดคุณสมบัติของ Jquery ไปใช้งานต่อได้
* สามารถทำ UI ใหม่ บน Browser ได้
* Utilities

ใครที่นำ Jquery ไปใช้งานได้บ้าง
* Web Programmer
* Web design
* Jquery สามารถใช้งาน ร่วมกับ server-side scripting languages ได้ทุกภาษา ไม่ว่าจะเป็น PHP,JSP,Perl,ASP หรือ .net
* ใช้งานกับ html,CSS ได้เป็นอย่างดี รวมทั้ง xml ด้วย

เว็บไซต์ของ Jquery
http://www.jquery.com/

Code :
<script src="http://jqueryjs.googlecode.com/files/jquery-1.3.2.min.js" type="text/javascript">
</script>
<script type="text/javascript">
$(function(){
$("#btn").click(function(){
$('#idDiv').toggle(1000);
});
});
</script>
<style type="text/css">
#idDiv{
width: 200px;
height: 100px;
border: solid 1px black;
background-color:LightGrey;
text-align:center;
display:none;
}
</style>
<div id="idDiv">JQuery Example</div>
<button id="btn">Click</button>
Output :

JQuery Example

..อ่านต่อ..

November 19, 2010

HTML เบื้องต้น

โครงสร้างพื้นฐานของ HTML
    โครงสร้าง HTML 4 แบ่งหลักๆ เป็น 2 ส่วน คือ ส่วนหัว (Head) และส่วนที่เป็นเนื้อหา (Body) ดังนี้

Code :
<HTML>
    <HEAD>
        <TITLE> ชื่อ web </TITLE>
    </HEAD>
    <BODY>
        คำสั่ง/ข้อความที่ต้องการให้แสดง
    </BODY>
</HTML>
HTML Code จะต้อง save ใน file นามสกุล .htm หรือ .html ด้วย

HTML Headings
     HTML headings เป็นการกำหนดข้อความที่เราต้องการให้เป็นรูปแบบ Header มีตั้งแต่ tags <h1> ถึง <h6>

Code :
<h1>This is a heading</h1>
<h2>This is a heading</h2>
<h3>This is a heading</h3>

Output :

This is a heading

This is a heading

This is a heading


HTML Paragraphs
HTML Paragraphs เป็นการแบ่งย่อหน้าโดยใช้ tag <p>

Code :
<p>This is a paragraph 1.</p>
<p>This is a paragraph 2.</p>

Output :
This is a paragraph 1.
This is a paragraph 2.

..อ่านต่อ..

November 8, 2010

เริ่มเขียนโปรแกรมภาษา PHP [Beginner ภาค2]

Comments Code
    การ comment code ในภาษา PHP ทำได้ 2 แบบ คือใช้ // comment ได้บรรทัดเดียวหรือ /* comment */ ได้หลายบรรทัดดังตัวอย่าง
     <html>
     <body>
     <?php
         // This is a comment
         /*
         This is
         a comment block
         */
     ?>
     </body>
     </html>
Variables ใน PHP
     Variables(ตัวแปร) ใช้สำหรับเก็บค่าต่างๆ พวก text , ตัวเลข , array(จะอธิบายในภายหลัง) เมื่อประกาศ Variables ครั้งแรกแล้วมันสามารถที่จะใช้เก็บค่าทับไปทับมาใน code ของคุณได้ Variables ทุกตัวจะต้องเริ่มต้นด้วยตัว $ เสมอ เรามาดูตัวอย่างการประกาศ Variables ที่ถูกต้องกัน
     <?php
         $txt="Hello World!";
         $x=16;
     ?>

String Variables ใน PHP
string variables เป็นตัวแปรที่เก็บ characters(ตัวอักษร) หลายๆตัวได้ในตัวแปรเดียว ซึ่งหมายความว่าสามารถเก็บเป็นคำ วลี ประโยคได้ดูตัวอย่างการประกาศ String Variables
     <?php
         $txt="Hello World";
         echo $txt;
     ?>
output ที่ได้ก็จะเป็น
     Hello World


PHP Operators
   ตัวดำเนินการ(Operator)ใน PHP มีอยู่ 4 ประเภท
Arithmetic Operators

Assignment Operators

Comparison Operators

Logical Operators



IF condition
    การใช้ if condition เป็นการกำหนดทางเลือกให้ทำงานตามกำหนด หากเงื่อนไขถูกต้องก็จะเข้าไปทำงานภายในวงเล็บ
    <?php
        if($a  > $b)
        {
             echo "a is bigger than b";
        }
    ?>
     จากตัวอย่างเป็นการเปรียบเทียบระหว่างตัวแปร $a กับ $b หาก $a มากกว่า $b ก็จะทำการแสดง "a is bigger than b" แต่ถ้า $a น้อยกว่า $b ก็จะข้ามไปทำงานต่อหลัง } (วงเล็บปีกกาปิด)

While loop
     เป็นการทำงานวนซ้ำหากเงื่อนไขยังคงถูกต้องหรือเป็นจริงอยู่โดยส่วนใหญ่จะใช้ในการทำงานที่รูปแบบซ้ำๆเดิม
    <?php
        while(true)
        {
            echo "loop infinity";
        }
    ?>
    ตัวอย่างข้างบนเป็นการทำ loop วนซ้ำไม่มีวันจบคือจะทำการแสดงข้อความ loop infinity ต่อกันไปเรื่อยๆไม่มีจบ


For loop
การวนโดยใช้ for loop นั้นจะใช้ก็ต่อเมื่อเรารู้จำนวนครั้งในการวน loop ดังตัวอย่าง
    <?php
        for ($i=1; $i<=5; $i++)
       {
           echo "The number is " . $i . "<br />";
       }
    ?>

..อ่านต่อ..

เริ่มเขียนโปรแกรมภาษา PHP [Beginner]

     การเขียน code ในภาษา PHP นั้นจะมีรูปแบบ (ในวงการเค้าเรียกกันว่า syntax) ไม่มากหากตั้งใจศึกษาจริง สามารถทำความเข้าใจได้ภายใน 1 วันเท่านั้นแต่เดี๋ยวก่อนหากคุณลองศึกษาจากที่นี่ Easy Code Examples อาจใช้เวลาเพียง 1 ชม.เท่านั้น ก่อนที่จะเริ่มเขียนโปรแกรมขอให้เตรียม Environment ให้พร้อมสำหรับ Run โปรแกรมเสียก่อนนะครับ ศึกษาได้จาก >> การเตรียม Environment (สภาพแวดล้อม) ให้ทำงานภาษา PHP ได้
    หลังจากเตรียมอะไรๆ มามากมายเรามาเริ่มกันเลยเปิด Editor ขึ้นมาในการเขียน PHP นั้นจะต้องอยู่ระหว่าง <? code PHP ?> และ save ลงไฟล์นามสกุล .php เช่น easyCode.php เป็นต้น การเปิด-ปิดส่วนที่เป็น PHP code มีหลายรูปแบบดังนี้
  •   <? code PHP ?> (รูปแบบภาษา SGML)
  •   <?php code PHP ?> (แนะนำ)
  •   <Script Language="php"> code PHP </Script> (รูปแบบ JavaScript)
  •   <% code PHP %> (รูปแบบ ASP)
     การเขียนสคริปต์ PHP ในรูปแบบใดก็ตามจะต้องมีเครื่องหมาย semicolon ( ; ) ลงท้ายคำสั่งเสมอ ลองเขียน code ด้านล่างลงไปในไฟล์ easyCode.php ที่สร้างไปก่อนหน้านี้แล้ว
<?php
echo "Hello, Easy Code Examples";
?>
     จากนั้น save file แล้วย้ายไฟล์ไปไว้ที่ C:\AppServ\www เปิด browser (Internet Explorer ก็ได้) ใส่ Url http://localhost/easyCode.php แล้ว Enter หากมีคำว่า Hello, Easy Code Examples แสดงว่าที่ทำมาถูกต้องหากไม่ขึ้นให้ลองไปดูการเตรียม Environment ใหม่
     การวาง code ผสมกับ HTML สามารถทำได้ตามตัวอย่าง
<html>
<head>
<title>Example</title>
</head>
<body>
<?php 
        echo "Hi, I'm a PHP script!"; 
?>
</body>
</html> 

..อ่านต่อ..

การเตรียม Environment (สภาพแวดล้อม) ให้ทำงานภาษา PHP ได้

     เนื่องจากว่า PHP ต้องประมวลผลที่เครื่องเซิร์ฟเวอร์ แต่ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของตัว Web Server ดังนั้นถ้าจะใช้ PHP ก็จะต้องดูก่อนว่า Web server นั้นสามารถใช้สคริปต์ PHP ได้หรือไม่ ในที่นี้ผมจะใช้ OS windows ในเครื่องเซิร์ฟเวอร์ โดยหลักๆ โปรแกรมที่ต้องลงในการเตรียม environment มีดังนี้
  • Apache (ทำหน้าที่เป็น web server)
  • PHP (ตัวที่เรากำลังศึกษากันอยู่)
  • MySQL (ตัวระบบจัดการฐานข้อมูล)
  • phpMyAdmin (สคริบ php ใช้สำหรับจัดการฐานข้อมูล MySQL ได้ผ่านเว็บ)


เราสามารถโหลด Appserv ที่เป็นโปรแกรมที่รวบรวมเอา Open Source Software ข้างต้น "มารวมกัน" เพียงแค่เข้าไปโหลดที่ http://www.appservnetwork.com/ 
ดูวิธีวิธีการลงโปรแกรม Appserv ได้ที่ http://www.appservnetwork.com/modules.php?name=Content&pa=showpage&pid=4 เท่านี้เราก็จะได้ environment เตรียมพร้อมสำหรับการพัฒนาเว็บ

..อ่านต่อ..

รู้จักกับ PHP

เรามาดูประวัติคร่าวๆของ PHP กัน
     PHP ได้ถูกคิดขึ้นในปี ค.ศ.1994 โดย Rasmus Lerdorf โปรแกรมเมอร์ชาวสหรัฐอเมริกาเป็นผู้สร้างเหตุผลมาจากว่าเขาต้องการที่จะพัฒนาโปรแกรมให้เก็บข้อมูลของผู้ใช้ที่เข้าเยี่ยมชมหน้า web ของเขาซึ่งเขาเรียกมันว่า PHP ที่ย่อมาจาก Personal Home Page Tools แต่ในปัจจุบันกลุ่มผู้ที่พัฒนา PHP กำหนดให้ PHP นั้นย่อมาจาก PHP : Hypertext Preprocessor
     PHP เป็นภาษาสคริปต์ที่ประมวลผลที่ฝั่งเซิร์ฟเวอร์ (คอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่ในการให้บริการแก่คอมพิวเตอร์เครื่องอื่น เช่น การส่งหรือรับอีเมล์ หรือการส่งเว็บเพจ)แล้วส่งผลลัพธ์ไปแสดงผลที่ฝั่งไคลเอ็นต์ (เครื่องที่รับบริการจากเซิร์ฟเวอร์นั่นเอง) ผ่านบราวเซอร์ซึ่งปัจจุบัน(ณ วันที่ Post)ได้พัฒนามาถึงเวอร์ชั่น PHP 5.3.3 สามารถเข้าไปศึกษาการเขียนโปรแกรมภาษา PHP อย่างละเอียดได้ที่ http://www.php.net/manual/en/


เครื่องมือที่ใช้ในการเขียนโปรแกรมภาษา PHP
     ก่อนอื่นเราต้องมีโปรแกรมสำหรับเขียนภาษา PHP เสียก่อนซึ่งเรียกกันทั่วไปว่า Editor สำหรับผู้เริ่มต้นผมขอแนะนำให้ใช้ Notepad หรือ Editplus ไปก่อนเพราะไม่ต้องเสียเวลาศึกษาการใช้งานโปรแกรมมากมาย ผู้ที่มีพื้นฐานการใช้คอมพิวเตอร์อยู่แล้วสามารถฝึกใช้ได้ในเวลาอันสั้นแน่นอน
  • Notepad มีมากับ windows อยู่แล้ว (ลองหาดูในเครื่องนะครับ)
  • Editplus สามารถหาโหลดได้จาก ที่นี
     หลังจากมีเครื่องมือสำหรับเริ่มเขียนแล้ว เราก็มาลงมือเขียนกันได้เลย

..อ่านต่อ..